ขณะที่ข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อตกลงการเข้าซื้อกิจการทวิตเตอร์มูลค่า 44 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท (ณ อัตราแลกเปลี่ยนล่าสุด) ซึ่งถูกบันทึกให้เป็นจุดสูงสุดของอภิมหากาพย์ดีลยักษ์ และเต็มไปด้วยปริศนาที่สร้างความสงสัยต่อคนทั้งโลก ว่ามัสค์จะทำข้อตกลงดังกล่าวนี้ไปทำไม เพื่ออะไร จะสำเร็จหรือไม่ และจุดประสงค์ที่แท้จริงในการเข้ากุมธุรกิจโซเชียลมีเดียนกกระจอกนี้คืออะไรกันแน่?!

โดยหากย้อนไปดูดีลประวัติศาสตร์นี้จะพบว่า เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน เมื่อมัสค์แอบย่องเข้าไปเก็บหุ้นทวิตเตอร์ในตลาดหุ้น ก่อนที่เขาจะเปิดเผยสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 9.2 ออกมาในภายหลัง ซึ่งนั่นทำให้เขากลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดตามปริมาณการถือครองหุ้น

อย่างไรก็ตามนอกจากที่เขาจะกลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกแล้ว ตามสัดส่วนของการถือครองหุ้นเว็บหวยออนไลน์ เขามีสิทธ์ในการเข้าร่วมคณะกรรมการของ Twitter ซึ่งจุดประสงค์ในขณะนั้นนักวิเคราะห์และชุมชนผู้ใช้ทวิตเตอร์และเหล่าแฟนคลับเหรียญมีมหมา Dogecoin มองว่าเขาเข้ามาเพื่อเบรกการปรับโครงสร้างแพล็ตฟอร์มและยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทในการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มในราคา $54.20 US ต่อหุ้น ซึ่งเป็นข้อเสนอที่บอร์ด Twitter ต่างสบถต่อราคาหุ้นที่เขาเสนอมา โดยหลายคนถึงกับเล่นมุขในเชิงตลกร้ายว่า เขาเมากัญชามาหรือยังไงเนี่ย ถึงกล้าเสนอซื้อหุ้นในราคานี้

ในเวลาต่อมาเพียงหนึ่งสัปดาห์ถัดจากนั้น ข้อเสนอของมัสค์กลายเป็นความจริงขึ้นมา เมื่อกระแสเศรษฐกิจจากภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐที่ถีบตัวพุ่งสูงขึ้นจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แช่แข็งระบบเศรษฐกิจทั่วโลกมากว่า 2 ปี ค่อยๆเปิดเผยความเสียหายจากผลพวงผลกระทบดังกล่าว ซึ่งทำให้หลายๆบริษัทในทุกอุตสาหกรรม ต้องปรับโครงสร้างธุรกิจ และรัดเข็มขัดเพื่อกระชับองค์กรมากขึ้น ซึ่งทวิตเตอร์เองก็อยู่ในภาสั่นคลอนด้วยเช่นกัน โดยในท้ายที่สุด ทั้งฝั่งมัสค์เองที่ยื่นข้อเสนอซื้อหุ้น และฝั่งบอร์ดบริหารโซเชียลนกกระจอกเอง ทั้งสองฝ่ายก็บรรลุข้อตกลงในราคาที่เขาเสนอซื้อ แต่ทั้งนี้การเจรจาซื้อหุ้นนั้น เกิดขึ้นโดยที่ Musk ยังไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทตามธรรมเนียมในการเข้าซื้อกิจการ ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน เขาก็กลับคำยกเลิกการซื้อหุ้น

มัสค์ ยกเลิกการซื้อหุ้นในสัปดาห์ต่อมา

มัสค์ ออกมาทวิตต่อสาธารณชนถึงเหตุผลในการ “ไม่ซื้อหุ้นตามที่ยื่นข้อเสนอ” โดยเขาให้ความเห็นว่า “เชื่อว่าบัญชีบอทสแปมของ Twitter นั้นสูงกว่าประมาณการของบัญชีผู้ใช้ Twitter ที่แท้จริงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจากข้อมูลรายงานที่ตีพิมพ์ในเอกสารกฎข้อบังคับที่ยื่นตามที่เขาร้องขอน้อยกว่าร้อยละห้าของผู้ใช้งานรายวันที่สร้างรายได้ ซึ่งทำให้เขาไม่คิดว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่ถูกต้องอย่างแท้จริง แต่เป็นข้อมูลเท็จที่ผ่านการปรุงแต่งมาจากทางบอร์ดบริหาร ทำให้ทนายความของมัสค์ ต้องร่วมตรวจสอบเชิงลึกถึงข้อมูลบัญชีปลอมดังกล่าว และทักท้วงไปยังบอร์ด Twitter ว่าไม่ปฏิบัติตามคำขอของเขา และบิดเบือนข้อเท็จจริงสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้

ซึ่งผลที่ตามมาหลังจากนั้น ส่งผลให้ มัสค์ แจ้งไปยังบอร์ด Twitter เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมว่า “เขายกเลิกข้อตกลงที่เคยเสนอบอร์ดไปทั้งหมด” โดยอ้างว่า “Twitter ไม่จริงใจในการเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงของบอทสแปม และบอร์ดบริหารหลอกลวงบิดเบือนสร้างข้อมูลเท็จ”

ทวิตเตอร์ “ฟ้องกลับ” บังคับให้ มัสค์ ซื้อหุ้น

4 วันต่อมา Twitter ฟ้อง Musk ในเดลาแวร์ซึ่งเป็น บริษัท ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบังคับให้เขาทำข้อตกลง ซึ่งจากกระแสล้มดีลดังกล่าวนั้น ส่งผลให้หุ้นของทวิตเตอร์หรือแม้แต่ meta บริษัทโซเชียลมีเดียคู่แข่งและหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ พร้อมใจกันร่วงลง เนื่องจากความกังวลว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในขณะที่ฝ่ายเศรษฐกิจการคลังสหรัฐเอง ก็พยายามที่จะต่อสู้กับสถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อ เพื่อจะผลักดันให้เศรษฐกิจสหรัฐซึ่งเข้าสู่ภาวะถดถอยฟื้นตัวกลับขึ้นมา

Twitter กล่าวหา มัสค์ ว่าเขาไม่จริงใจในการที่จะเข้ามาซื้อหุ้นอย่างแท้จริง โดยอ้างว่ามัสก์ต้องการออกจากข้อตกลง เพราะเขาคิดว่ามูลค่าหุ้นนั้นแพงเกินไปจากมูลค่าที่แท้จริง ซึ่งเขายื่นข้อเสนอซื้อหุ้นในตอนแรกถือว่าราคาสูงมากถึง 54.20 ดอลลาร์ต่อหุ้น หากเทียบกับราคาในตลาดหุ้นช่วงเดือนกรกฎาคมที่ประมาณ 35-37 ดอลลาร์เท่านั้นและไม่คุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายเงินเกินจำนวนไปมาก

ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าวของข้อโต้แย้งนั้น ทำให้นักวิเคราะห์ทางกฎหมายส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ข้อโต้แย้งของ Twitter มีน้ำหนักที่แข็งแกร่งที่สุด มากกว่ามัสค์ และน่าจะมีเปอร์เซ็นโอกาสชนะมัสค์ในศาลได้สูงกว่า

อย่างไรก็ตาม มุมมองของพวกเขายังคงไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าหลังจากนั้นในเดือนสิงหาคมจะเกิดกรณีที่ Peiter Zatko หัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยระบบแพล็ตฟอร์มของ Twitter ได้ออกมาแฉบริษัท Twitter ว่าล้มเหลวในการเปิดเผยจุดอ่อนด้านความปลอดภัยและข้อมูลความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

ขณะเดียวกันหลังจากที่ทางบอร์ด Twitter ยื่นฟ้องศาลเชิงบังคับให้ มัสค์ กลับมาซื้อหุ้นตามที่ได้เสนอไว้ โดยฝ่ายวิเคราะห์กฏหมายได้ให้ข้อมูลต่อสื่อหลายสำนักว่ามัสค์อาจต้องจ่ายเงินค่าเสียหายหลายพันล้านเหรียญให้กับทางทวิตเตอร์หากเขาล้มดีลที่เขาเป็นผู้เสนอนั้นเอง

ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 ต.ค. มัสค์ กลับคำข้อเสนอที่จะล้มดีลซื้อทวิตเตอร์นั้นและเสนอให้ทำข้อตกลงให้เสร็จสิ้นตามที่สัญญาซื้อหุ้นไว้ ก่อนที่ศาลจะเริ่มเปิดพิจารณาคดีในปลายเดือนตุลาคม โดยผู้พิพากษาเดลาแวร์ ได้ให้เวลามัสค์ปิดดีลการซื้อหุ้นภายในวันที่ 28 ต.ค. เพื่อปิดธุรกรรมและยุติการพิจารณาคดีการฟ้องร้องดังกล่าวนั้น

‘chief twit’ เดินมาพร้อมอ่างล้างหน้า

ต่อมาวันพุธที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา หลังจากที่ Musk ได้ทำตามข้อตกลงตามคำแนะนำของผู้พิพากษาเดลาแวร์แล้ว เขาเดินทางไปสำนักงานใหญ่ของ Twitter พร้อมด้วยรอยยิ้มและถืออ่างล้างหน้าในมือ จากนั้นเขาก็ได้เปลี่ยนคำอธิบายในโปรไฟล์ Twitter เป็น “Chief Twit” ซึ่งเป็นนัยยะว่าดีลการซื้อทวิตเตอร์นั้นสิ้นสุดลงเรียบร้อยแล้ว

ซึ่งหลังจากที่เขาปิดดีลการเข้าซื้อ Twitter เรียบร้อยแล้ว สิ่งแรกที่สร้างขวัญกำลังใจในการเปลี่ยนผ่าน จากเจ้าของเก่าเป็นเจ้าของใหม่คือการสร้างขวัญกำลังใจและความพยายามระงับความกลัวในหมู่พนักงานถึงข่าวลือในการปรับโครงสร้างพนักงานว่าจะมีการเลิกจ้างครั้งใหญ่ และให้ความมั่นใจกับผู้โฆษณาว่า คำวิจารณ์ที่ผ่านมาของเขาเกี่ยวกับกฎการดูแลเนื้อหาของ Twitter จะไม่เป็นอันตรายต่อการอุทธรณ์ของบัญชีผู้ใช้ธุรกิจเพื่อการพาณิชย์

” Twitter จะไม่กลายเป็นนรกที่ไร้ประโยชน์สำหรับใคร ๆ และมันจะยังคงยืนหยัดเป็นพื้นที่ในการทำหน้าที่ตามเดิมอย่างที่ควรจะเป็น ” Musk กล่าวในจดหมายเปิดผนึกถึงผู้โฆษณาในวันพฤหัสบดี

อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งในแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีของ Musk ซึ่งเขาระบุว่า Twitter ถือเป็นรากฐานสำหรับการสร้าง “แอปสุดยอด” ที่จะมีทุกอย่างรวมกันไว้ตั้งแต่การโอนเงิน ไปจนถึงการช็อปปิ้ง ไม่เว้นแม้แต่การเรียกรถ และแน่นอนว่ามันยังรวมไปถึงแพล็ตฟอร์มบล็อกเชน ที่ครอบคลุมไปถึงสินทรัพย์ดิจิทัล คริปโต NFT และ WEB3 ในอนาคตด้วย

“ศักยภาพในระยะยาวของ Twitter ในความเห็นของผม มันมีมูลค่าสูงกว่าที่พวกเราเห็นในปัจจุบัน” มัสค์ กล่าวทิ้งท้ายในการพูดคุยกับนักวิเคราะห์ของเทสลาเมื่อวันที่ 19 ต.ค. ถึงแผนการพัฒนาทวิตเตอร์ในอนาคต

By admin